
สำหรับเด็กๆ ก็ยังอยู่ในช่วงปิดเทอม ก็มีภารกิจได้หยุดพักผ่อนเหมือนกัน แต่ก็มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับการกวดวิชาอย่างหนักหน่วง ก็เลยไม่ได้รู้สึกอะไรกับช่วงวันหยุดยาวมากนัก เหมือนอย่างน้องแก๊บ
“วันหยุดสงกรานต์ก็หยุดแค่ 14-15 ครับ วันที่ 16 ก็ต้องเรียนพิเศษต่อ”
เรียกว่าตั้งแต่ปิดเทอมน้องแก๊บก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาเรียนพิเศษพร้อมๆ กับเพื่อนอีกจำนวนมาก
ดิฉันสนใจประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการเรียนกวดวิชาของเด็กยุคนี้ ที่ดูเหมือนว่าค่านิยมของคนเป็นพ่อแม่จะเปลี่ยนไป...!!
ส่วนใหญ่การเรียนกวดวิชาช่วงปิดเทอม เนื่องเพราะพ่อแม่บางคนไม่มีเวลาดูแลลูก ก็เลยต้องให้สถาบันกวดวิชาเป็นสถานรับดูแลลูกชั่วคราว เพราะครั้นจะให้ลูกปิดเทอมอยู่บ้านเฉยๆ ก็กลัวว่าจะไม่เกิดประโยชน์อันใดไฉนเลยสู้ให้ลูกเรียนพิเศษน่าจะดีกว่า ลูกจะได้ไม่ลืมวิชาการด้วย
แต่ประเด็นที่ดิฉันสนใจเป็นพิเศษ เกี่ยวกับการกวดวิชาที่พ่อแม่จำนวนมากปรารถนาอยากให้ลูกได้เรียนพิเศษนั้น ก็คือ ค่านิยมของคนเป็นพ่อแม่ในยุคนี้เปลี่ยนไปกว่าในอดีตโดนสิ้นเชิง
จะว่าไปก็เปลี่ยนแปลงมาเป็นทศวรรษแล้วล่ะ เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมายังไม่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนเหมือนในยุคนี้
ในอดีตการกวดวิชาของเด็กนักเรียนจะเป็นเพราะลูกเรียนไม่ทันเพื่อน พ่อแม่หรือคุณครูอยากช่วยให้เด็กเรียนทัน ก็เลยต้องให้มีการไปเรียนเสริม
แต่ปัจจุบันนี้ การกวดวิชากลายเป็นค่านิยมใหม่ของพ่อแม่ ที่ต้องการให้ลูกเรียนเหนือกว่าระดับชั้นที่เรียนในห้องเรียนปกติ ประมาณว่าต้องการให้ลูกเรียนล้ำหน้ากว่าเพื่อนในห้องเข้าไว้ จะได้กลายเป็นเด็กเก่ง เพราะเวลาสอบก็จะได้คะแนนดีกว่าเพื่อน
นี่ยังไม่นับรวมเด็กๆ อีกจำนวนมากที่ตกอยู่ในวังวนของการเรียนพิเศษกันอย่างบ้าเลือด
ดิฉันเคยพบเด็กที่ต้องเรียนอยู่ตลอดเวลา แทบจะไม่รู้จักวันหยุด ซึ่งเธอเป็นเด็กที่เรียนเก่งดังใจพ่อแม่ทุกอย่าง ซึ่งก็เกิดข้อกังขาว่าที่สุดแล้ว เธอเก่งเพราะตัวเองหรือเพราะเธอตะลุยเรียนพิเศษกันแน่
ดิฉันไม่ได้แอนตี้สถาบันกวดวิชา หรือไม่ได้ต้องการต่อว่าพ่อแม่ที่พาลูกไปเรียนกวดวิชา เพราะดิฉันเองก็เคยส่งลูกไปเรียนกวดวิชาเช่นกัน เพียงแต่เป้าหมายในการกวดวิชาก็ขึ้นอยู่กับการร้องขอของลูก
เหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความประหลาดใจไม่น้อย กับคำตอบของเด็กคนหนึ่งที่ร้องขอพ่อแม่เรียนพิเศษ เพราะเพื่อนในห้องเรียนกันหมดทุกคน ถ้าตัวเองไม่ได้เรียนก็จะทำให้เรียนตามเพื่อนไม่ทัน
คำถามที่ตามมาก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับระบบการศึกษาในบ้านเรา?
ถ้าเด็กที่เรียนตามระบบและไม่ได้กวดวิชา ก็อาจกลายเป็นเด็กเรียนอ่อนในชั้นเรียน เพราะเด็กที่เรียนเก่ง ล้วนแล้วแต่ต้องออกไปพึ่งสถาบันกวดวิชา ที่บางแห่งถึงขั้นต้องจองคิวกันเป็นปีเพื่อจะได้ไปเรียนพิเศษที่นั้นๆ
ดิฉันเองก็เคยถามตัวเองเหมือนกันว่าช่วงเวลาปิดเทอมไม่ได้ส่งลูกไปเรียนกวดวิชาจะเป็นไรไหม ทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยเกิดความคิดเหล่านี้ เพราะคิดว่าเขาเรียนมาตลอดทั้งปี ก็ควรจะมีเวลาได้พักผ่อนบ้าง
จริงอยู่ว่าครอบครัวของเราพ่อแม่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ แต่เวลาปิดเทอมดิฉันก็พาลูกไปที่ทำงานด้วย สรรหากิจกรรมให้ทำภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในครอบครัวด้วยว่า ลักษณะงานของพ่อแม่เป็นอย่างไร ลูกก็ได้เรียนรู้ร่วมกัน
แต่สิ่งเหล่านี้กำลังถูกท้าทายต่อความคิดที่ว่าทำไมไม่พาลูกไปเรียนพิเศษ ช่วงปิดเทอมสองเดือนอาจทำให้ลูกลืมเรื่องวิชาการ และเมื่อเปิดเทอมก็อาจเรียนตามเพื่อนไม่ทัน
คำถามที่ตามมาก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับระบบการศึกษาในบ้านเรา?
เด็กๆ ไม่สามารถเรียนรู้เรื่องวิชาการได้เพียงพอภายในห้องเรียนกระนั้นหรือ...!!!
ผลพวงของค่านิยมการส่งลูกไปเรียนกวดวิชา ทำให้การเรียนการสอนภายในห้องเป็นไปแบบธรรมดา แล้วให้พ่อแม่ส่งไปเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน ใครเรียนพิเศษกับคุณครูท่านใด เวลาสอบกับคุณครูท่านนั้นก็สามารถทำคะแนนได้ดี สุดท้ายพ่อแม่ก็ต้องส่งให้ลูกเรียนพิเศษกันทุกคน
ดิฉันหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเขียนถึง เพราะเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดิฉันเคยพูดคุยกับเพื่อนพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยไล่เลี่ยกัน บางคนก็ส่งลูกเรียนพิเศษตั้งแต่เล็กจนกลายเป็นวิถีชีวิต เพราะไม่มีชีวิตปิดเทอม ซึ่งก็ได้ผลเพราะเป็นเด็กที่เรียนเก่งทีเดียวเชียว สามารถสอบเข้าโรงเรียนชื่อดังได้ดังใจปรารถนา สมใจพ่อ แม่ในขณะที่บางคนที่ลูกอยู่ช่วงชีวิตวัยอนุบาลก็ไม่อยากให้ลูกเรียนกวดวิชาเพราะกลัวลูกจะหนักเกินไป อยากให้ลูกมีความสุขในชีวิตวัยเด็ก และไม่เคร่งเครียดจนเกินไป แต่ท้ายสุด เธอก็ไม่สามารถต้านกระแสการเรียนพิเศษไปได้ เพราะเพื่อนๆ ในห้องเรียนก็เรียนกันหมด หนำซ้ำ เธอเชื่อว่าถ้าไม่กวดวิชาไม่มีทางสอบเข้าโรงเรียนมีชื่อเสียงในวัยประถมได้อย่างแน่นอน
ส่วนพ่อแม่จำนวนมากที่มีลูกสอบเข้าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่างก็ยอมรับและเชื่อตรงกันว่า ที่ลูกสามารถสอบเข้าโรงเรียนต่างๆ ได้ ก็เพราะพาลูกไปกวดวิชา หากไม่กวดวิชาไม่มีทางสอบเข้าได้เด็ดขาด
ค่านิยมของการสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนต่างๆ ก็ยังคงผูกเข้ากับเรื่องการกวดวิชาของเด็กๆ อยู่ดี และยิ่งนับวัน จะยิ่งมากขึ้นๆ
คำถามที่ตามมาก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับระบบการศึกษาในบ้านเรา?
ดูเหมือนการศึกษาในบ้านเรากำลังจะไม่มีที่ยืนให้สำหรับเด็กเรียนตามเกณฑ์ปกติซะแล้วเด็กเก่งคือเด็กที่สามารถสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้เป็นผลสำเร็จ และเด็กที่สอบเข้าได้ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ผ่านการกวดวิชามาแล้วทั้งสิ้นแล้วส่วนใหญ่ของเด็กที่เรียนกวดวิชา ต่างก็เป็นเด็กชนชั้นกลางขึ้นไป ที่คนเป็นพ่อแม่ขวนขวายและพยายามส่งเสริมและผลักดันให้ลูกสอบให้ได้ในขณะที่ที่นั่งของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงที่พ่อแม่ต่างปรารถนาก็มีที่นั่งจำนวนจำกัดคำถามที่ตามมาก็คือ การศึกษาในบ้านเราไม่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มชนชั้นปกติ หรือกลุ่มชนชั้นล่างเลยมิใช่หรือ ...!!
แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000043245
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับ บทความนี้
15 ความคิดเห็น:
...มาแล้วนะครับ
...แต่ยังไม่รู้จักใครเลย...ช่วยแนะนำตัวกันหน่อยครับ ถ้าไม่รู้ว่าจะแนนำตัวอย่างไร เชิญไปดูของชาวบ้านที่ blog ของผมได้นะครับ...
เพราะ สังคม มัน เปลี่ยน ไป
แก่ง แย่ง ชิง ดี มาก ขึ้น
พ่อ แม่ เลย ต้อง ลุก ตั้ง แต่ เด็กๆ
แล้ว คอย ดู กัน ต่อ ไป อนา คต ของ เด็กๆ เหล่า นี้
อัพล่าสุด เดือน6แหนะ - -
ฝากเม้นบล๊อกด้วยดิคับ
hypnotizt.blog.sanook.com
ถ้าเราไปเน้นแต่การเรียนพิเศษอย่งเดียวเราก็คงจะได้ความรู้แต่ที่ห้องเรียนพิเศษเท่านั้น แล้วอย่างนี้คุณครูที่โรงเรียนจะสอนไปเพื่ออะไร งั้นนักเรียนก็ไปเรียนพิเศษแล้วก็ไปสอบเลยไม่ดีกว่าหรอ
อนาคตเด็กไทยจะเป็นยังไต่อไป
ถ้าผู้ใหญ่ยังเป็นซะแบบเนี่ย
ไม่รู้นะ
สำหรับเรามันก็สำคัญ
ตอนเราเรียนมัธยมก็เรียนพิเศษทุกวัน
รู้สึกว่ามันตั้งใจเรียนกว่าเรียนที่ รร.อ่ะ
ถ้าไม่โดดเรียนอ่ะนะ
ค ว า ม รุ้ คู่ คุ ณ ธ ร ร ม
เยาวชนอนาคตของชาติ
การเรียนพิเศษ
เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเด็ก
แต่ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่สมควร
เพราะถ้ามากเกินไปก็จะส่งผลให้เด็ก
เกิดความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ
ผู้ปกครองส่วนใหญ่
เข้าใจว่าการส่งลูกเข้าไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชา
จะทำให้ลูกเก่งขึ้น
บางครั้งมันอาจจะเป็นความคิดที่ผิดก็ได้
เพราะการที่ส่งลูกไปเรียน
อาจจะไม่ได้ผลที่ดีกลับมาก็ได้
การเรียนรู้ต้องขึ้นอยู่กับ
ความสนใจของเด็กแต่ละคน
ว่าเขาจะตั้งใจเรียนมากน้อยแค่ไหน
เด็กบางคนไม่จำเป็นที่จะต้องไปเรียนกวดวิชา
เพียงแค่เขาสนใจเรียนในห้องเรียน
และศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมก็ทำให้เขามีความรู้เพิ่มขึ้นแล้ว
แต่ถึงยังไงก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า
การเรียนพิเศษก็เป็นส่วนหนึ่ง
ที่ทำให้เด็กมีความรู้มากขึ้น
จากการเรียนในชั้นเรียน
เพียงอย่างเดียว
ธิติมา ถนอมรอด ID.5131601352 SEC.02
เราคิดว่า
การเรียนพิเศษก็เป็นเรื่องที่ดีนะ
ทำให้เรามีความรู้เพิ่มเติม
แต่ควรจะเป็นไปอย่างพอดีๆ
ไม่ใช่ว่าเรียนพิเศษซะทุกวิชา
แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเราเก่งด้านไหน
เราอาจจะสับสนว่าที่เราเก่งนั้นมาจากที่
เราเรียนพิเศษเยอะหรือว่าเก่ง
เพราะเรามีพรสวรรค์ด้านนี้
และถ้าหากว่าผู้ใหญ่ยังมีค่านิยม
ในการส่งลูกไปเรียนพิเศษแล้วลูกจะเก่งอยู่นั้น
เราจะมีการเรียนการสอนในห้องเรียนไปเพื่ออะไร?
เราลืมมองไปหรือเปล่าว่าเด็กต้องใช้ชีวิตในสังคมด้วย ควรจะมีเวลาที่จะให้เด็กรู้จักหาประสบการณ์ชีวิตในโลกกว้างบ้าง ให้ได้ใช้ชีวิตอิสระในวัยเด็กอย่างเต็มที่ ไม่ใช่อยู่แต่กับตำรา
อนัญญา สืบสิน ID : 5131601570 Sect. 2
การศึกษาบ้านเราปัจจุบันนี้มีค่านิยมต่างจากเดิม
จากอดีต..การเรียนรู้ทฤษฎีเกิดจากในห้องเรียนเท่านั้น จากนั้นจึงนำความรู้ที่ได้รับมาปฏิบัตินอกห้องเรียน
ต่างจากปัจจุบัน..ที่รอบตัวต่างก็มีผลต่อการเรียนรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ยิ่งใครหาความรู้ได้มากเท่าไร ยิ่งมีผลกับการเรียนในห้องเรียน และการดำเนินชีวิตในแต่ีละวัน ปัจจุบันมีการแบ่งแยกกลุ่มสังคมด้วย"ความรู้"ใครมีความรู้มากก็ยิ่งมีผู้ให้ความยอมรับนับถือ ส่วนใครที่มีความรู้น้อย ก็จะถือว่าเป็นตัวถ่วง ซึ่งมันไม่สมควรที่จะเป็นเช่นนั้น
สถานกวดวิชาปัจจุบันก็มีความสำคัญต่อนักเรียนนักศึกษา เนื่องจากเป็นการเตรียมพร้อมสู่การเรียนในห้องเรียน จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อได้รับคำชมจากครู/อาจารย์ ในห้องเรียนจริง และได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆในห้องเรียน ใครที่ไม่ได้เรียนกวดวิชามาก็จะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ก่อให้เกิดปัญหาในการแข่งขันมากขึ้น และเนื่องจากการเรียนกวดวิชาก็ไม่ได้เรียนกันฟรีๆ ต้องมีค่าใช้จ่ายแถมเยอะซะด้วย ผู้ปกครองชนชั้นกลางๆก็ต้องวิ่งวุ่นกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายสูงขึ้น เพื่อที่จะให้ลูกได้มีการศึกษาเหมือนชาวบ้านชาวช่อง ลูกจึงจะสามารถเข้ากับเพื่อนๆในห้องเรียนได้ ทำให้ผู้ปกครองต้องเหนื่อยหนักมากขึ้น บางทีก็มีปัญหานะ ดิฉันว่ามันน่าจะเกิดขึ้นจาก"ทุนทรัพย์"ของแต่ละครอบครัว ปัจจุบันพ่อใครมีตังค์เยอะ ลูกก็จะออกมาเก่งเพราะได้เรียนกวดวิชาที่สถาบันดีๆ พ่อใครมีตังค์น้อยก็ได้เรียนน้อย ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตามสังคมปัจจุบันสอนให้มนุษย์ในสังคมรู้ว่าการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเป็นเร่องที่สำคัญมากของมนุษย์
และเน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นสำคัญ ไม่ว่าจากในห้องเรียนก็ดี จากหนังสือนิตยสารทั่วไปที่ขายกันเกลื่อนตลาดก็ดี การถามจากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ก็ดี การดูข่าวสารตามสื่อต่างๆก็ดี หรือแม้กระทั่งทาง"อินเตอร์เน็ต"ที่มีสาระความรู้ต่างๆอย่างแพร่หลายซึ่งมีทั้งคุณประโยชน์และโทษตามมา ดังนั้นจึงอยู่ที่การพิจารณา และไตร่ตรองข้อมูลอย่างถี่ถ้วนของแต่ละบุคคล
ดิฉันหวังว่าคนไทยทุกคนจะหันมาสนใจการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น พยายามตักตวงความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อนาคตสังคมเราก็จะมีบุคคลที่มีคุณภาพอยู่ในสังคม และเมื่อวันนั้นมาถึง"สังคมไทยที่เจริญรุ่งเรือง"ก็คงจะปรากฎให้เห็น...
น.ส.นันทวัน ไชยพงษ์ ID5131601365 Sect 02
การส่งลูกไปเรียนกวดวิชามันก็ดีนะคะ แต่มันจะทำให้เด็กรู้จักแต่รับจากผู้อื่น ไม่รู้จักหาความรู้ด้วยตัวเอง วันหนึ่งๆตื่นขึ้นมาก็ไปเรียนไม่เว้นแม้แต่เสาร์อาทิตย์ หรือแม้แต่วันจันทร์ถึงศุกร์เรียนที่โรงเรียนตามปกติเสร็จแล้วก็ยังต้องไปเรียนพิเศษต่อ ในบางครั้งพ่อแม่ก็ควรจะคิดว่าการเรียนมากเกินไปมันก็มีผลเสียเหมือนกัน แทนที่พ่อแม่จะเอาเงินไปจ้างครูมาสอนพิเศษให้ลูก แต่เอาไปซื้อหนังสือมาให้ลูกอ่านเอง และคอยให้คำแนะนำกับลูกจะไม่ดีกว่าหรือ
นางสาวจุฑาทิพย์ เม้าคำ ID 5131601277 sec 02
คนสมัยนี้ให้ความสำคัญแต่กับการเรียน คนเรียนเก่งเท่านั้นถึงจะมีหน้าตาในสังคม ทุกคนยกย่องคนที่เก่งโดยไม่คำนึงเลยว่าคนๆนั้นจะดีหรือเลว คนเริ่มละเลยเรื่องคุณจริยธรรม กว่าจะสำนึกได้ว่าคนเก่งไม่ได้ดีเสมอไปทุกอย่างก็อยากเกินแก้ไขแล้ว แทนที่จะส่งลูกไปสถาบันกวดวิชา ส่งลูกให้ไปเข้าวัดบ้างก็ดีนะคะ สังคมจะได้มีคนดีมากขึ้น ประเทศไทยจะได้สูงขึ้น เมื่อไหร่พ่อแม่จะคำนึงถึงเรื่องนี้สักที
ใครๆ ก้ต้องการหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กันตัวเอง ได้อะไรมาก้อต้องไขว่คว้าเเหร่ะ
4931203090
การส่งลูกไปเรียนกวดวิชา เป็นสิ่งทีดีนะครับ
แต่การส่งไปเรียนเพื่อให้เป็นหน้าเป็นตาของผู้ปกครอง
เพื่อนให้ทันเพื่อน โดยที่ไม่ได้ถามลูกตัวเองว่าอยากเรียนมั้ย ทำให้เกิดเป็นค่านิยมที่ผิด ๆ เกี่ยวกับการส่งลูกไปเรียนพิเศษ
นาย วีรพงศ์ พุทธสอน ID:5131601494 section 2
แสดงความคิดเห็น