2551/09/04


ผลสำรวจ ชี้ เด็กไทยมีโอกาสศึกษาสูงขึ้น เด็กเรียนปริญญาเพิ่ม แต่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ

เมื่อวันที่ 2 กันยายน นายวิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "โครงการสภาวะการศึกษาไทย" ปี 2550/2551 จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ณ โรงแรมมิราเคิล กรุงเทพฯ ว่า ตนได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551 ปัญหาความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษาไทย” เพื่อนำเสนอต่อสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สกศ.ซึ่งผลการศึกษาพบว่า จากสถิติและข้อมูลประมาณการที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รวบรวม การจัดการศึกษาในช่วงปีการศึกษา 2549-2551 สะท้อนว่า โดยภาพรวมการศึกษายังมีปัญหาทั้งปริมาณและคุณภาพ แม้จะพบว่า ประชากรในวัยเรียน 3 - 17 ปี มีโอกาสได้รับการศึกษาเป็นสัดส่วนต่อประชากรสูงขึ้นจาก 85.3%1 ในปีการศึกษา2549 เป็น 88.77% ในปี 2551 แต่ก็ยังพบว่าประชากรในวัย3 - 17 ปีไม่ได้เรียนในปีการศึกษา2551 สูงถึง 1.6 ล้านคนหรือ 11.23 %ของประชากรวัยเดียวกัน ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้รัฐบาลจัดการศึกษาภาคบังคับแก่ประชาชน 9 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียนและออกกลางคันไม่ได้เรียนต่อในช่วงชั้นต่างๆมากโดยจากข้อมูลออกกลางคันปี 2550 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)พบว่ามีนักเรียนออกกลางคันในทุกระดับชั้นรวม 1.19 แสนคนหรือ 1.4 % นายวิทยากร กล่าวต่อว่าในส่วนของอุดมศึกษาจำนวนนักศึกษาในปี 2549 - 2550 ประมาณ 2.4 ล้านคนเรียนจบปีละ 2.7 แสนคนว่างงานปีละ 1 แสนโดยนักศึกษาระดับปริญญาโทจำนวน1.8 แสนคนและปริญญาเอกจำนวน 16,305 คน ซึ่งจุดนี้ทำให้ผู้เรียนในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีในปี 2550 มีจำนวนลดลงเพราะสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะขยายการเรียนระดับปริญญาตรีและสูงกว่ามากขึ้นเนื่องจากคนนิยมเรียนให้ได้ปริญญาเพิ่ม ทั้งนี้สำหรับประเด็นปัญหาการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษานั้นจากการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศต่างๆ อันดับของไทยมีแนวโน้มต่ำลงมาตลอด ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวฉุดก็คือปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการศึกษาและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้จากการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)ที่ผ่านมานอกจากมาตรฐานการศึกษาที่มีปัญหาแล้วในส่วนของมาตรฐานครู ในด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญยังพบว่าสถานศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.2 หรืออยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง“ในอนาคตจำนวนประชากรไทยจะเพิ่มอย่างช้า ๆ แต่โครงสร้างอายุจะเปลี่ยนไป คือมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีเป็นสัดส่วนสูงขึ้น มีสัดส่วนคนวัยทำงานและวัยเด็กจะลดลง ในขณะที่เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมโลกจะมีปัญหามากขึ้น จึงต้องจัดการศึกษาแบบเน้นคุณภาพ เข้าใจปัญหาและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจัดการศึกษาและจัดกิจกรรมให้ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุให้เรียนรู้ใหม่ปรับตัวใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและสร้างสรรค” นายวิทยากร กล่าวและว่า สำหรับแนวทางการปฏิรูปการศึกษามีหลายเรื่องที่อยากจะเสนอศธ. อาทิ ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารการศึกษาแบบลดขนาดและบทบาทของการบริหารแบบรวมศูนย์อยู่ที่รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษา และส่วนกลางลง ,กระจายอำนาจให้มีการบริหารแบบใช้ปัญญารวมหมู่, ปฏิรูปการจัดสรรและการใช้งบประมาณให้เป็นธรรม มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ,ปฏิรูปด้านคุณภาพประสิทธิภาพและคุณธรรมของครูอาจารย์อย่างจริงจังเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดผลสอบแข่งขันและการคัดเลือกคนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐ จากการสอบปรนัยที่เน้นคำตอบสำเร็จรูปไปเน้นการวัดการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง ที่สะท้อนความรู้ความสามารถอย่างเป็นองค์รวม นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญจะต้องปฏิวัติการศึกษาให้เกิดความเสมอภาคโดยเฉพาะต้องทุ่มงบประมาณกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ใช่ไปทุ่มงบประมาณกับโครงการเมกะโปรเจคท์ การพัฒนาเด็กปฐมวัยจะทำให้เด็กฉลาด เมื่อเรียนในระดับสูงขึ้น เช่น ประถมศึกษา มัธยมจะมีคุณภาพ นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า เป้าหมายการจัดการศึกษาของไทยทั้งด้านคุณภาพและการพัฒนายังกระจัดกระจาย แต่ละหน่วยงานแต่ละฝ่ายต่างมุ่งพัฒนาเด็กไปตามเป้าหมายของตัวเอง ทำให้เด็กที่จบมาตั้งแต่ระดับประถมจนถึงปริญญาตรีมีปัญหาด้านคุณภาพ เมื่อจบปริญญาตรีไม่ได้คุณภาพก็ไปเรียนต่อปริญญาโท เมื่อจบปริญญาโทไม่ได้คุณภาพก็ไปเรียนต่อปริญญาเอก ทำให้การศึกษาไทยเดินไปสู่ความไม่เอาไหน อย่างเด็กบางคนเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยเขียนคำว่าแพทย์ และคำว่าสร้างสรรค์ไม่ถูกเลยอาจเป็นผลมาจาการเรียนในระดับมัธยมศึกษาดูแล้วก็น่าเป็นห่วงแทน
โดย นางสาวธิติมา ถนอมรอด
ID.5131601352 Section 02

5 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ใช่เเห็นด้วย หลาย ๆ คนเรียนอยู่ทุกวันนี้เพื่อที่จะได้รับปริญญาเท่านั้น แต่น้อยคนจะมุ่งมนให้ตนนั้นมีคุณภาพจริง ๆ เพราะเรื่องปริญญาเป็นค่านิยมของคนไทย หลายครั้งที่ตัเราเองก็มุ่งมันจะคว้ามันมา จนลืมไปว่า ตัวเรานั้นมีความรู้จริง ๆ รึเปล่า



น.ส.เพียงตะวัน พงษ์ไพบูลย์
ID5131601149

ฝากบล็อคเราด้วยนะคะ
http://thai-political.blogspot.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความรู้นั้นช่วยเราได้มากแค่ไหน ถ้ามีความรู้แต่มีความชั่วร้ายมากกว่าล่ะ เราก็จะได้เห็นข่าวเหมือนเช่นทุกวันนี้
ถ้ามีความรู้ควบคู่กับความดีล่ะ เราก็จะได้ไม่เห็นข่าวในทุกวันนี้
(ยิ่งมีความรู้สูง ความเห็นแก่ตัวก็จะสูงขึ้น )

thitima กล่าวว่า...

การศึกษา ของประเทศไทย
ในปัจจุบัน ถือว่าเข้าถึงเยาวชนมากขึ้น
แต่ เนื่องจากการเข้าถึงยังไม่เป็นระบที่ดีพอ
เพราะแบบแผนการเรียนยังไม่เป็นในแนวทางที่ดีพอ
เพราะ การเรียนในบางเรื่อง บางโรงเรียน
ยังไม่ถูกต้อง แม่นยำพอ
ทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างผิดๆ
เกิดความผิดพลาดที่ เด็กซึมซับ
และนำมาใช้ไม่ถูกต้อง
ซึ่งจะเกิดผลเสียกับเด็กในระยะยาว
ดังนั้น การศึกษาควรมีการวางแผน
ระบบการศึกษาให้ดีมากกว่านี้
เพราะการศึกษาจะได้มีแบบแผน
และมีประสิทธิภาพ

นางสาวธิติมา ถนอมรอด
ID.5131601352 section 02

nantawan กล่าวว่า...

โหการเรียนปัจจุบันปริญญาตรี
บางคนก็นึกว่าซื้อเกรดเหอะ
นี่ยังมีการศึกษาสูงขึ้น คุณภาพต่ำ จะมีไปเพื่อ....

หากจะปรับปรุงการศึกษาจริงๆอ่ะ
หันไปปรับปรุงหลักสูตรในระดับปกติให้แน่นกว่าเดิมดีกว่ามั้ย?

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบใจจ้า สำหรับบทความ